เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [1. มูลปริยายวรรค]
10. มหาสติปัฏฐานสูตร

2. 7 ปี จงยกไว้1 บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 6 ปี พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
3. 6 ปี จงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 5 ปี พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
4. 5 ปี จงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 4 ปี พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
5. 4 ปี จงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 3 ปี พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
6. 3 ปี จงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 2 ปี พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
7. 2 ปี จงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 1 ปี พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี
8. 1 ปี จงยกไว้ บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 ตลอด 7 เดือน พึง
หวังผลอย่าง 1 ใน 2 อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี

เชิงอรรถ :
1 7 ปี จงยกไว้ หมายถึงอย่าว่าแต่จะเจริญสติปัฏฐานใช้ระยะเวลา 7 ปีเลย แม้เจริญเพียง 6 ปี ลดลง
มาตามลำดับถึง 7 วัน ก็สามารถบรรลุอรหัตตผล หรืออนาคามิผลได้ (ที.ม.อ. 2/404/422, ม.มู.อ.
1/137/318)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :129 }